วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเช้าเรียนครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2555

-นำเสนอ my map ของแต่ละกลุ่ม


อาจารย์ แนะนำ
-ทำไมต้องมีหน่วย ? เพื่อนำมาวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างอิสระให้กับเด็ก
-หลักการเลือกหน่วย เลือกหน่วยที่ใกล้ตัว,สิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็กในขณะนั้น

ยกตัวอย่าง  หน่วยส้ม

ประเภท  บอกสายพันธ์ เพื่อแยกประเภท
ลักษณะ  สี รูปร่าง ขนาด พื้นผิว กลิ่น
ประโยชน์ / ข้อควรระวัง  เช่น ก่อนกินส้มควรล้างก่อน , ถ้ากินในขณะท้องว่างในปริมาณมาก อาจทำให้ท้องเสียได้
การถนอมอาหาร  เช่น แช่อิ่ม เชื่อม น้ำส้มคั้น
ส่วนประกอบของส้ม  เปลือก ใย เนื้อ เมล็ด
อาชีพ  พ่อค้า แม่ค้า ชาวสวน

เนื้อหาหรือทักษะ

1.การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กได้รู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตั้งแต่ 1-10 หรือมากกว่านั้น
2.ตัวเลข เป็นการให้เด็กได้รู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ ในชีวิตประจำวันให้เด็กได้นับและได้คิดเอง
*ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนจำนวน แทนลำดับที่
3.การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการจับคู่จำนวน/จำนวน จำนวน/ตัวเลข
4.การจัดประเภท  เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆและสามารถจัดประเภทได้
5.การเปรีบยเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ของสองสิ่งหรือมากกว่า
6.การจัดอันดับ  เป็นการจัดสิ่งของเป็นชุดๆเรียงตามลำดับ  เบา-หนัก
7.รูปทรงและเนื้อที่ ทรงกลม สี่เหลี่ยม ความลึก ความกว้าง
8.การวัด การหาค่าเพื่อให้รู้ขนาดโดยการไช้เครื่องมือที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การหาค่าน้ำหนัก(การชั่งน้ำหนัก)การตวง
9.เซต เช่น เซตของอุปกรณ์รับปรัทานอาหาร จาน ช้อน ผ้าเช็ดมือ มีการเชื่อมโยงกัน
10.เศษส่วน เช่น การแบ่งขนม 1 ชิ้น การแบ่งสัดส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย ให้เด็กสังเกตฝึกทำตามแบบ การทำตามแบบเพื่อสื่อสารร่วมกันแล้วเข้าใจตรงกัน คณิตศาสตร์มีระบบมีวิธีการจึงต้องให้เด็กมีประสบการในการทำตามแบบ
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เช่น การเท่น้ำเด็กจะตัดสินใจตามที่ตาเห็นให้เด็กมีการคิดรวบยอดและมีการเชื่อม

ตัวอย่างประโยค
การจัดประเภท เช่น นำไข่เป็ดใส่ตะกร้าสีแดงนำไข่ไก่ใส่ตู้เย็น
การนับ เช่น ตอนนี้เธอมีตังกี่บาท 
รูปทรง เช่น ในห้องของเรามีกระเป๋ารูปทรงอะไรบ้าง
เวลา เช่น วันนี้เราเข้าเรียนกี่โมง
ปริมาณ เช่น วันนี้ฉันกินน้ำไป 3 แก้ว
การเรียงลำดับเหตุการณ์ เช่น ตื่นเช้าไปโรงเรียน กินข้าว ทำการบ้าน ฯลฯ
การวางแผน เช่น พรุ่งนี้เราจะตื่นนอนกี่โมง

**งานที่มอบหมาย
ปรับปรุงหัวข้อและนำทฤษฎีไปบูรณาการทางคณิตศาสตร์ในหน่วยที่ตนเองเลือก


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2555

-อาจารย์ให้เขียนชื่อและวาดรูปเป็นสัญลักษณ์ของตนเองและนำไปติดตามเวลาที่มาเรียน ก่อนเที่ยง/หลังเที่ยง
-จากการวาดรูปเกี่ยวกับคณิตศาสตร์อย่างไร รูปร่าง , รูปทรง , เวลา, ขนาด
-การจัดหมวดหมู่ จัดกลุ่ม ต้องมีเกณฑ์
-การให้เด็ทำซ้ำๆจะเกิดประสบการณ์>สมองซำซับเก็บข้อมูล>ปรับเป็นองค์ความรู้
-การติดเรียงภาพทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
-มีเทคนิคการเรียงจากซ้ายไปขวา, ลำดับที่, การนับ, รู้จำนวน, มีเลขฮินดูอาราบิกกำกับ, การมาก่อน-หลัง, เปรียบเทียบ เบากว่า/หนักกว่า, ใหญ่กว่า/เล็กกว่า
-อ.ให้ฟังเพลง เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จากเพลงสอนคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง
นับจำนวน1-10 ซ้าย-ขวา บน-ล่าง(ตำแหน่ง) บูรณาการเข้าสู่กิจกรรม เคลื่อนไหวและจังหวะ ให้เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ตามแพทเทิลของเพลง
-เพลง มีการนำสัตว์มาแทนจำนวน เช่น แมลงปอบินมา 1 ตัว , กบกระโดด 1 ครั้ง เป็นต้น
-คณิตศาสตร์ พัฒนากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,ศิลปะ,เสรี
-เกมการศึกษา จิ๊กซอ,ล็อดโต้,ความสัมพันธ์แบบแกน
-กิจกรรมกลางแจ้ง เข้าแถว,เรียงตามลำดับ,จับกลุ่ม
-เกมเบต็ล กติกายืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ เน้นความสนุกสนาน
-เกมหลัก มีกติกาชัดเจน มีผู้แพ้ชนะชัดเจน


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555

- ตกลงเรื่องเลวลาเรียน เลื่อนเวลาเป็น 12.00-15.00 น. ห้อง 224
-อาจารย์ให้เขียน
1.วิชาคณิตศาสตร์ในความคิดของนักศึกษา คนละ 1 ประโยค
2.การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

**การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย**
สำหรับเด็กปฐมวัย
 พัฒนาการ
-แรกเกิด-2ปี มีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
-2-6ปี มีภาษา สื่อของจริง เริ่มใช้เหตุผล เริ่มเข้าสู่การใช้สื่อที่เป็นนามธรรม
การจัดประสบการณ์
-ทฤษฏี
-กระบวนการจัดประสบการณ์
-เทคนิควิธีการ
-หลักการจัดประสบการณ์
-วิธีการประเมิน
-สื่อ/การจัดสภาพแวดล้อม

**งานที่มอบหมาย
ทำบล็อค หาความรู้เพิ่มเติมลงบล็อค
-โทรทัศน์ครู
-วิจัย 5 บท
-บทความ
-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง